msds & COA search
ศูนย์รวมเอกสารข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มผลิตภัณฑ์สารเคมีเพื่อการวิเคราะห์สำหรับห้องปฏิบัติการที่เราจำหน่าย
What does COA mean?
Certificate of Analysis, COA
คือ เอกสารรับรองผลค่าวิเคราะห์สารเคมีแล็บ ตามล็อตการผลิตนั้นๆ เทียบกับค่ามาตรฐานโดย รายละเอียดที่มีระบุใน COA มีดังนี้
Read More download file
What does MSDS mean?
GHS (Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals)
คือ ระบบสากลที่ใช้ในการจัดกลุ่มความเป็นอันตรายและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก โดยมีการแสดงรายละเอียดบน เอกสารข้อมูลความปลอดภัย (SDS : Safety Data Sheet , MSDS : Material Safety Data Sheet ) ระบบนี้พัฒนาขึ้นโดยองค์การ สหประชาชาติ เพื่อให้ทั่วโลกมีการจัดกลุ่มความเป็นอันตรายของสารเคมีที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคำนึงถึงความเป็นอันตรายทางด้าน กายภาพ สุขภาพ
Read More download file
ตามระบบ GHS ได้กำหนดรูปแบบและข้อมูลใน SDS ไว้ 16 หัวข้อ ดังต่อไปนี้
ซึ่งผู้ใช้งานควรทำความเข้าใจเพื่อที่จะสามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลในเอกสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ข้อมูลเกี่ยวกับสารเคมี บริษัทผู้ผลิตและหรือจำหน่าย
(Identification of the substance / preparation and of the Company / undertake)

หัวข้อที่ 1 นี้ประกอบไปด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ชื่อของสารเคมีตาม IUPAC
  • ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ของบริษัทผู้จัดจำหน่าย
  • วิธีจัดทำเอกสาร หรือวันที่ที่มีการปรับปรุงครั้งล่าสุด เพราะอาจมีการค้นพบผลกระทบใหม่ๆของสารนั้น
  • ชื่อสารเคมี ผลิตภัณฑ์ ตามที่ระบุบนฉลากปิดภาชนะบรรจุ
  • ชื่ออื่นที่เรียกสารหรือผลิตภัณฑ์เดียวกัน

SAMPLE MSDS

ขอขอบคุณรูปภาพการ์ตูนประกอบจาก https://tomco.co.th/2017/10/12/เอกสาร-sds-คืออะไร

2. ข้อมูลระบุความเป็นอันตราย
( Hazards Identification )
  • บอกถึงลักษณะโดยทั่วไปของสารเช่น ของแข็ง ของเหลว สี กลิ่น เพื่อให้รู้ว่าสารมีการเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่
  • ข้อมูลทั่วไปสำหรับกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
  • โอกาสที่ทำให้เกิดความผิดปกติกับร่างกาย
  • อาการเมื่อได้รับสารพิษ ช่องทางที่สารพิษเข้าร่างกาย พิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรังที่จะเกิดขึ้นและวิธีรักษา

       

3. ส่วนประกอบและข้อมูลเกี่ยวกับส่วนผสม
( Composition/Information on Ingredients )
  • กรณีที่เป็นของผสมให้ระบุส่วนประกอบเป็นร้อยละ
  • ให้ระบุสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพที่มีปริมาณเกินร้อยละ 1 แต่ถ้าเป็นสารก่อมะเร็งต้องระบุเมื่อมีปริมาณเกินร้อยละ 0.1
  • หมายเลข CAS (Chemical abstract Service) ของส่วนผสมทุกตัว เพื่อสะดวกในการค้นข้อมูลเพิ่มเติม

4. มาตรการปฐมพยาบาล
( First Aid Measures )
  • การปฐมพยาบาลและการรักษาเมื่อได้รับสารพิษเข้าสู่ร่างกายทุกช่องทาง เช่น หู ตา คอ จมูก
  • รายชื่อยาที่ใช้รักษา หรือต้านพิษ
  • ข้อมูลหรือหมายเหตุสำหรับแพทย์ผู้รักษา

5. มาตรการผจญเพลิง
( Fire Fighting Measures )
  • ข้อมูลการดับเพลิงสำหรับเจ้าหน้าที่ดับเพลิงหรือหน่วยกู้ภัย เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเตรียมการดับเพลิงได้อย่างถูกต้อง
  • บอกถึงวัสดุที่เหมาะสมในการดับไฟ เช่น ใช้คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ หรือต้องใช้น้ำยาเคมี
  • บอกถึงวิธีการหรือข้อควรระวังในการดับไฟ
  • สารอันตรายที่เกิดขึ้นเมื่อเกิดการลุกไหม้หรือไฟไหม้
  • สมบัติการติดไฟหรือการเกิดระเบิด
  • อันตรายอื่นๆที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างดับเพลิง เช่น ขณะดับเพลิงสารที่เหลืออยู่สามารถเกิดปฏิกิริยาอะไรขึ้นบ้าง

8. มาตรการจัดการเมื่อมีการหกรั่วไหลของสารโดยอุบัติเหตุ
( Accidental Release Measures )
  • คำแนะนำสำหรับวิธีการเมื่อเกิดการหกรั่วไหล
  • คำแนะนำในการอพยพผู้ที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง
  • การควบคุมการแพร่กระจาย และวิธีชำระล้างสารที่หกรั่ว
  • สารที่เข้ากันไม่ได้และอันตรายที่จะเกิดขึ้น
  • การสลายตัวหรือการระเหยที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการจัดเก็บ

7. ข้อปฏิบัติการใช้และการเก็บรักษา
( Handling and Storage Information )
  • คำแนะนำทั่วไป เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอันตราย
  • วิธีการเก็บรักษา เพื่อไม่ให้ภาชนะบรรจุเสียหายหรือเสื่อมสภาพ

8. การควบคุมการรับสัมผัสและการป้องกันภัยส่วนบุคคล
( Exposure Controls / Personal Protection )
  • วิธีการควบคุมด้วยระบบวิศวกรรม เช่น การออกแบบตึก การออกแบบห้องปฏิบัติการ การระบายอากาศที่ดี การเลือกใช้ตู้ดูดควัน
  • การควบคุมด้วยระบบจัดการ เช่น การอบรม ออกระเบียบ เขียนป้ายเตือน
  • อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ต้องใช้ เช่น หน้ากากป้องกันไอสารพิษ ถุงมือ แว่นตา

9. คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพ
( Physical and Chemical Properties )
  • บอกสมบัติของสารเช่นน้ำหนักโมเลกุล จุดเดือด จุดเยือกแข็ง การละลาย ความหนืด ความถ่วงจำเพาะ สี กลิ่น ลักษณะภายนอก ค่าความดันไอ

10. ความเสถียรและความไวต่อการเกิดปฏิกิริยา
( Stability and Reactivity )
  • ความเสถียรของสาร สารพิษที่เกิดจากการสลายตัว สารที่ไม่ควรเก็บไว้ร่วมกัน เพื่อให้รู้ถึงสภาวะที่เหมาะสมในการเก็บรักษา สภาวะใดควรหลีกเลี่ยง

11. ข้อมูลด้านพิษวิทยา
( Toxicological Information )
  • บอกระดับความรุนแรงของพิษ ความเป็นพิษเฉียบพลันหรือเรื้อรัง เช่นค่า LD50, LC50

12. ข้อมูลด้านระบบนิเวศ
( Ecological Information )
  • ผลที่เกิดต่อสัตว์น้ำ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง พืช จุลินทรีย์ ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
  • ผลกระทบทางเคมีที่เกิดขึ้นต่อ อากาศ น้ำ และดิน

13. มาตรการการกำจัดกาก หรือสารเหลือใช้
( Disposal Considerations )
  • ประเภทของเสียที่จะเกิดขึ้น
  • วิธีการกำจัด ข้อกำหนดตามกฎหมายหรือระเบียบทางราชการ
  • ทางเลือกอื่นในการกำจัด เช่นการหมุนเวียน การใช้ซ้ำ หรือมารนำกลับมาใช้ใหม่

14. ข้อมูลสำหรับการขนส่ง
( Transport Information )
  • ข้อมูลทั่วไปในการขนส่ง
  • ข้อมูลตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องแสดงบนพาหนะขนส่ง หรือในระหว่างขนส่ง

     

     

15. ข้อมูลเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ
( Regulatory Information )
  • ปริมาณที่จัดเก็บได้ในสถานที่ใช้งาน
  • ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับข้อกำหนดตามกฎหมายที่ต้องรายงานให้กับหน่วยงานราชการ
  • รหัสหรือสัญลักษณ์เช่น สัญลักษณ์ความเป็นพิษ ความไวไฟ

16. ข้อมูลอื่นๆ
( Other Information )
  • รายชื่อเอกสารอ้างอิง
  • รายชื่อแหล่งข้อมูลที่สามารถหารายละเอียดเพิ่มเติมได้
  • ระดับความเป็นอันตรายของสาร