Hazardous Substance License Application
ทำไมต้องมีการขอใบอนุญาตนำเข้าสารเคมีอันตราย ?
เนื่องด้วยการนำเข้าสินค้าประเภทที่เป็น เคมีภัณฑ์ หรือ สารเคมี ผู้ประกอบการรวมทั้งผู้ใช้งานควรจะต้องทราบถึงหลักเกณฑ์การนำเข้าหรือการมีไว้ในครอบครองของสารดังกล่าวก่อนว่าสารเคมีประเภทใดจะต้องมีการขออนุญาตจากทางหน่วยงานราชการก่อน เพื่อป้องกันการเสียค่าปรับ เสียเวลาในการที่ต้องดำเนินการขออนุญาตให้ถูกต้องตามขั้นตอนก่อนจึงจะสามารถนำสินค้าเหล่านั้นออกจากด่านศุลกากรได้
จะรู้ได้อย่างไรว่าสารเคมีนั้นๆ ต้องมีการขออนุญาตก่อน?
เบื้องต้นท่านต้องทราบก่อนว่าสารเคมีนั้นจะนำมาใช้ในกิจการหรือธุรกิจประเภทใด และเกี่ยวข้องกับหน่วยงานไหนที่ดูแลด้านนี้อยู่ เช่น งานเกษตรกรรมจะเกี่ยวข้องกับกรมวิชาการเกษตรและกรมประมง, สินค้าอุปโภคบริโภค ยารักษาโรค ก็จะเกี่ยวข้องกับ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) หรือหน่วยงานอื่นๆ อีก เช่น กรมยุทธภัณฑ์กระทรวงกลาโหม เป็นต้น
การตรวจสอบเบื้องต้นว่าสารเคมีนั้นติดควบคุมหรือไม่?
หากท่านไม่ทราบว่าสารเคมีนั้นๆ เป็นสินค้าอันตราย ติดควบคุมเป็นวัตถุอันตรายหรือไม่ ให้ท่านปฏิบัติเบื้องต้นดังนี้...

สอบถามทางผู้จัดจำหน่ายหรือผู้ผลิตก่อน โดยอาจจะขอรายละเอียด เอกสารข้อมูลสินค้าด้านความปลอดภัย หรือที่เรียกว่า MSDS (Material Safty Data Sheet) มาตรวจสอบกับพรบ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 หรือตรวจสอบจากเว็บไซต์ หรือประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 ได้ที่นี่

บริษัท เอเพกซ์ เคมิเคิล จึงมีบริการนำเข้าและรับสั่งซื้อสารเคมีต่างๆ ที่จำเป็นจะต้องมีการขึ้นทะเบียน และมีใบอนุญาตนำเข้ากับกรมโรงงานอุตสาหกรรม หรือในกรณีที่สารเคมีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการที่ท่านต้องการใช้ถูกจัดประเภทให้เป็นยุทธภัณฑ์ที่ถูกควบคุมโดยกรมยุทธภัณฑ์ กระทรวงกลาโหม ทางบริษัทฯ ก็มีบริการให้คำปรึกษาและรับยื่นดำเนินการขอใบอนุญาตมีซึ่งยุทธภัณฑ์ให้กับท่านได้เช่นกัน

ท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อสารเคมีที่ต้องขออนุญาตนำเข้าหรือครอบครองกับทางกรมยุทธภัณฑ์ ได้จากเอกสาร ประกาศกระทรวงกลาโหม เรื่อง กำหนดยุทธภัณฑ์ที่ต้องขออนุญาตตามพระราชบัญญัติควบคุมยุทธภัณฑ์ พ.ศ. 2530 ได้ที่นี่

หมายเหตุ!! ทางบริษัทรับทำใบอนุญาตนำเข้าเฉพาะแบรนด์สินค้าที่ทางบริษัทฯเป็นตัวแทนนำเข้าและจัดจำหน่ายเท่านั้น (แบรนด์อื่นเราไม่มีบริการรับทำใบอนุญาต)
บริการขอใบอนุญาตนำเข้าสารเคมีอันตราย

ในปัจจุบันสารเคมีอันตรายจะถูกจำแนกประเภทออกเป็นวัตถุอันตรายชนิดต่างๆตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ซึ่งก็จะมีระเบียบในการนำเข้าวัตถุอันตรายแต่ละชนิดแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับว่าวัตถุอันตรายชนิดนั้นมีหน่วยงานราชการใดเป็นผู้รับผิดชอบควบคุม

กลไกการกำกับดูแลวัตถุอันตราย
พรบ. วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535
แก้ไขเพิ่มเติมโดย พรบ. วัตถุอันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551
กำกับ / ควบคุม การผลิต การนำเข้า การส่งออก การมีไว้ในครอบครอง
หน่วยงานผู้รับผิดชอบตาม พรบ. วัตถุอันตรายฯ
ปัจจุบันมีหน่วยงานผู้รับชอบ 6 หน่วยงาน
โดยแบ่งหน้าที่ตามภารกิจของหน่วยงานและวัตถุประสงค์การนำวัตถุอันตรายไปใช้
กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.)
โทร. 02-202-4230
วัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในทางอุตสาหกรรม
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
โทร. 02-590-7021
วัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข
กรมวิชาการเกษตร (กวก.)
โทร. 02-579-0151-8
วัตถุอันตรายที่นำไปใช้การเกษตร
กรมประมง (กปม.)
โทร. 02-562-0601-4
วัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในทางการประมง / การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
กรมปศุสัตว์ (ปศ.)
โทร. 02-653-4444
วัตถุอันตรายที่นำไปใช้ในทางปศุสัตว์
กระทรวงพลังงาน (พน.)
โทร. 02-223-3344
วัตถุอันตรายที่เป็นก๊าซปิโตรเลียม