SAFETY TIPS EP.3 : ข้อเสนอแนะ สำหรับการจัดเก็บสารเคมีที่ถูกต้องและปลอดภัย (Recommendations)

 

 

ข้อเสนอแนะ สำหรับการจัดเก็บสารเคมีที่ถูกต้องและปลอดภัย

นอกจากการแยกจัดเก็บสารเคมีบางชนิดที่ไม่สามารถเก็บรวมกันได้แล้ว มีข้อเสนอแนะอื่นๆสำหรับการจัดเก็บสารเคมีที่ปลอดภัยในห้องปฏิบัติการที่มีความเฉพาะและถูกต้อง คือ

1. ลดปริมาณสารเคมีที่จัดเก็บในห้องปฏิบัติการ ตามที่ระบุใน NFPA 45 และ OSHA ซึ่ง NFPA ได้ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปริมาณและขนาดภาชนะบรรจุสูงสุดในการจัดเก็บว่าควรลดลงครึ่งหนึ่งหรือหนึ่งในสาม

2. กลุ่มสารเคมีที่มีปริมาณมาก เช่น มีขนาดใหญ่มากกว่า 1 แกลลอน จะต้องจัดเก็บแยกต่างหากและสารเคมีประเภทของเหลวไวไฟ ตั้งแต่ 5 แกลลลอนขึ้นไปไม่ควรจัดเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการ

ขอขอบคุณรูปภาพจาก : Loba Chemie PVT. LTD.

3. จัดเก็บสารเคมีไว้ในที่มีอุณหภูมิและความชื้นเหมาะสม เพราะสภาพภูมิอากาศร้อนและชื้นนั้นเป็นปัญหาต่อการจัดเก็บเป็นอย่างยิ่ง โดยสารเคมีไม่ควรจัดเก็บไว้ในบริเวณใกล้ความร้อน เช่น ท่อไอน้ำหรือตู้อบสารในห้องปฏิบัติการ และไม่ควรเก็บสารเคมีในที่ที่มีแสงส่องถึงโดยตรง


4. ควรระบุวันที่ที่ได้รับสารเคมีและวันที่เปิดสารเคมี เพราะสารเคมีบางประเภทสามารถสลายตัวและให้ไม่ปลอดภัยในการใช้งานหากเก็บไว้เป็นเวลานาน นอกจากนี้ควรมีการระบุวันหมดอายุของสารเช่นเดียวกัน

5. ควรตรวจสอบสภาพของวัสดุและภาชนะบรรจุ ดังนี้

                - ความขุ่นในสารเคมีประเภทของเหลว

                - การเปลี่ยนสีของสารเคมี

                - พบของเหลวในสารเคมีประเภทของแข็งหรือพบของแข็งในสารเคมีประเภทของเหลว

                 - ตรวจสอบบริเวณรอบๆของภาชนะบรรจุ

                - ความดันภายในขวด

                - การเสื่อมสภาพของภาชนะบรรจุ

6. ไม่ควรทิ้งสารเคมีค้างไว้บนโต๊ะทดลอง ซึ่งในสถานที่ดังกล่าวไม่มีอุปกรณ์ป้องกันจากการสัมผัสสารและหากเกิดไฟไหม้ ซึ่งควรมีสถานที่จัดเก็บสารเคมีที่เฉพาะเจาะจง โดยเมื่อนำสารเคมีไปใช้งานแล้วควรนำมาเก็บไว้ในที่ที่สำหรับเก็บสารเคมี สำหรับสารเคมีไวไฟที่มีปริมาณมากไม่ควรจัดเก็บไว้ในห้องปฏิบัติการ ควรเก็บสารเคมีที่จำเป็นเท่านั้นไว้บนโต๊ะทดลอง ส่วนที่เหลือจะถูกเก็บไว้ในตู้เก็บวัตถุไวไฟ

7. ชั้นวางของในห้องปฏิบัติการควรยกขอบด้านนอก เพื่อป้องกันภาชนะจากการตก ไม่อนุญาติให้แขวนภาชนะไว้ที่ขอบของชั้นวางของ สารเคมีประเภทของเหลวหรือมีฤทธิ์กัดกร่อนไม่ควรเก็บบนชั้น ในระดับเหนือสายตา ภาชนะบรรจุที่เป็นแก้วไม่ควรสัมผัสกันบนชั้นวาง การจัดเก็บสารเคมีควรมีภาชนะรองหรือถาดรองเพื่อป้องกันการรั่วหรือการแตกของสารเคมี สารเคมีที่อยู่ในภาชนะที่เป็นขวดรูปชมพู่ควรมีจุกคอร์กปิดเช่นเดียวกัน

ขอขอบคุณรูปภาพจาก : https://www.videoblocks.com/video/medical-laboratory-workspace

 

8. การรักษาความปลอดภัยที่ดีจะต้องไม่ให้บุคคลที่ไม่ได้รับอนุญาติเข้าไปยังบริเวณที่เก็บสารเคมีที่เป็นอันตราย

9. ไม่ควรจัดเก็บสารเคมีให้บนพื้นแม้เพียงชั่วคราว

10. สารเคมีที่ไม่ได้นำมาใช้ในการทดลองควรจะมีการกำจัดอย่างถูกต้องหรือให้บุคคลอื่นที่มีการใช้งานสารเคมีดังกล่าว

11. สารเคมีไวไฟไม่ควรเก็บไว้ในตู้เย็น เพื่อป้องกันการระเบิด ควรจัดเก็บสารเคมีที่ไวไฟไว้เก็บบริเวณที่มีอากาศถ่ายเทสะดวกหรือจัดเก็บในตู้สำหรับจัดเก็บสารเคมีชนิดนี้โดยเฉพาะ

12. ภาชนะบรรจุที่จัดเก็บไว้ในตู้เย็นควรมีการปิดอย่างหนาแน่นเพื่อป้องกันการระเหยและลดปัญหากลิ่นต่างๆ ภาชนะที่เป็นขวดรูปชมพูควรปิดด้วยคอร์ก ยาง หรือ จุกแก้ว ไม่ควรเก็บไว้ในตู้เย็นเพื่อหลีกเลี่ยงการเสียสภาพ และที่สำคัญภาชนะบรรจุที่จัดเก็บในตู้เย็นต้องมีฉลากที่ถูกต้องและชัดเจน

13. สารเคมีที่จัดเก็บในตู้เย็น ควรมีการตรวจเช็คบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเก็บสารที่แออัดมากเกินไป และควรจะมีการละลายน้ำแข็งในตู้เย็น เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีแข็งตัว

14. ก่อนที่จะเก็บสารเคมีไวไฟไว้ในตู้เย็น ควรจะกำหนดวัตถุประสงค์ของการแช่เย็น ข้อควรระวังคือสารเคมีบางชนิดมีจุดวาบไฟ (Flash point) ที่ต่ำกว่าอุณหภูมิในตู้เย็น โดยเฉพาะสารเคมีกลุ่มเปอร์ออกไซด์ เช่น อีเทอร์ ไว้ในตู้เย็น

15. ไม่ควรเก็บสารเคมีในตู้ดูดควัน ซึ่งจะมีผลต่อประสิทธิภาพของตู้ในการดูดควันจากสารเคมี

16. ถังก๊าซจะต้องมีการยึดอย่างแน่นหนาเข้ากับโครงสร้างถาวร เช่น ผนัง หรือ โต๊ะทดลอง ถ้าไม่มีการใช้งานก็ควรมีฝาครอบปิดอย่างมิดชิด

17. สุดท้ายนี้ ต้องมีการถ่ายทอดความรู้แก่ผู้ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทุกท่าน เพื่อให้ทราบถึงการจัดเก็บ การเคลื่อนย้า่ย รวมถึงการกำจัดสารเคมีอย่างถูกต้อง เพื่อการใช้งานสารเคมีได้อย่างมีประสิทธิภาพและคงไว้ซึ่งความปลอดภัยสืบไป...

 

เอาล่ะ เป็นยังไงบ้างความเกี่ยวความรู้เกี่ยวกับ การจัดเก็บสารเคมีอย่างถูกต้องและปลอดภัย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดได้ แล้วหากใคร ยังไม่เข้าใจ ลองย้อนกลับไปอ่าน 2 บทความก่อนหน้านี้ดูกันอีกทีได้นะคะ ^^ เพื่อทุกท่านจะได้นำความรู้ไปลองประยุกต์ใช้ในงานของท่านได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

แล้วพบกันใหม่ บทความหน้านะจ๊ะะะะ ^____________^

 

ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก...

1. " SAFETY TIPS : Storage Practices ", [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา www.lobachemie.com (15 มีนาคม 2561).

 

<< PREVIOUS ARTICLE

<< SAFETY TIPS EP.2 : Categorical Storage : การจัดเก็บสารเคมีตามหมวดหมู

<< SAFETY TIPS EP.1 :  Inappropriate Storage Practice : อันตรายจากการจัดเก็บสารเคมีที่ไม่ถูกต้อง

<=