Posed on..26 Jan 2018 By..Jira Tungvichitreak, Ratchadakorn Udomrit and Narisara Mataworn
เป็นสิ่งที่นักเคมีและนักวิทยาศาสตร์ทุกคนคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว เพราะเครื่องแก้วห้องแล็ปเหล่านี้ นอกจากจะเป็นอุปกรณ์ที่นักเคมี นักวิทย์ฯ หรือนักวิจัยใช้ในการวัดปริมาตร บรรจุสาร หรือใช้อำนวยความสะดวกอื่นๆ ในการทดลองแล้ว ยังช่วยในการพัฒนาความรู้และงานทางด้านวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีของประเทศและโลกของเราให้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็วเลยก็ว่าได้
แต่สำหรับหลายๆ คนที่ยังไม่ได้เป็นนักเคมีหรือนักวิทย์ฯ และยังไม่ได้มีความชำนาญในงานด้านนี้ อาจจะยังไม่เข้าใจว่าเครื่องแก้วห้องปฏิบัติการต่างๆ ที่มีมากมายหลากหลายชนิด หลายรูปแบบ รูปทรง จริงๆ แล้วมันมีวิธีการจัดแบ่งกลุ่มอย่างไร มีลักษณะการใช้งานที่เฉพาะด้านใดบ้าง ที่ผ่านมาหลายท่านอาจจะอาศัยความเคยชิน การทำซ้ำ ทำตามต่อๆกันมา ตามเอกสารที่มีการระบุชนิดเครื่องแก้วที่ควรใช้ในงานนั้นไว้อยู่แล้ว แต่คงดีไม่น้อยนะคะ ถ้าลองมาทำความเข้าใจเรื่องนี้กันหน่อย เราอาจจะได้พบอะไรที่น่าสนใจอีกมากมายในเครื่องแก้วเหล่านี้ก็ได้ค่ะ
เรามาเริ่มต้นกันที่ การแบ่งประเภทของเครื่องแก้ววิทยาศาสตร์ กันก่อน โดยเป็นการแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ เครื่องแก้วที่ใช้งานทั่วไป (General Glassware) และ เครื่องแก้ววัดปริมาตรของเหลว (Volumetric Glassware)
ใช้สำหรับบรรจุสารเคมี ใช้ในการต้ม หรือ ละลายสาร และบางชนิดอาจใช้ในการวัดปริมาตรของของเหลวที่บรรจุอยู่แต่เป็นการวัดแบบหยาบ หรือเพียงคร่าวๆเท่านั้น เช่น
ใช้สำหรับวัดปริมาตรของของเหลวที่ต้องการความแม่นยำสูง
คุณลักษณะทั่วไปของเครื่องแก้ววัดปริมาตรของเหลว คือ
เครื่องแก้วที่ถูกจัดว่าเป็นเครื่องแก้ววัดปริมาตร (Volumetric Glassware) ที่เรารู้จักกันดีนั้น ได้แก่
- ปิเปตต์ ชนิด ปล่อยถึงขีดสุดท้าย (Mohr Type)
- ปิเปตต์ ชนิด ปล่อยหมด (Serological)
เครื่องแก้ววัดปริมาตร (Volumetric Glassware)
สำหรับเครื่องแก้ววัดปริมาตรนั้น เราจะเลือกใช้เมื่อเราคำนึงถึงความเที่ยงตรงของการวัดปริมาตรเป็นสำคัญ เนื่องจากมีการระบุค่าความคลาดเคลื่อน (Tolerance) ในการวัดที่อาจเกิดขึ้นได้ไว้อย่างชัดเจน
เครื่องแก้ววัดปริมาตร (Volumetric Glassware) สามารถแบ่งได้ตามระดับชั้นคุณภาพ (Class) ได้ 2 ระดับชั้นคุณภาพตามความแม่นยำ (accuracy) คือ Class A และ Class B ซึ่งถูกกำหนดด้วย ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ (Tolerance)
จากตารางข้างต้น เป็นตารางเปรียบเทียบค่าความคลาดเคลื่อน (Tolerance) ของ 7101- Volumetric Pipettes, Class A as per ASTM และ 7103-Volumetric Pipettes, Class B as per ASTM จะเห็นได้ว่าปิเปตต์ (Pipettes) ที่มีความจุมาก (High Capacity) จะมีค่าความคลาดเคลื่อนมากกว่าปิเปตต์ ที่มีความจุน้อย (Low Capacity) และปิเปตต์ Class A จะมีค่าความคลาดเคลื่อนต่ำกว่าเป็น 2 เท่าของปิเปตต์ Class B
แสดงให้เห็นว่า ค่าความคลาดเคลื่อนขึ้นอยู่กับความจุของปริมาตรและระดับชั้นคุณภาพของปิเปตต์ (Pipettes) ดังนั้น ปิเปตต์ Class A จึงมีความแม่นยำมากกว่า Class B เมื่อเทียบที่มาตรฐานเดียวกัน
เรามาย้อนทำความเข้าใจก่อนว่า การวัดนั้นเป็นการบอกถึงคุณสมบัติของสิ่งที่เราต้องการจะรู้ ในการวัดมักมีความไม่แน่นอนเกิดขึ้นเสมอ แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่า เครื่องแก้วที่เราใช้วัดปริมาตรสารต่างๆ นั้น มีความน่าเชื่อถือ และบอกค่าตรงตามความจริงที่เราอยากจะรู้ได้แค่ไหน เราจึงต้องมีการกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดที่สามารถยอมรับได้ (Tolerance limit)
จากภาพ กระบอกตวง (Cylinder) ขนาดปริมาตร 250 ml บรรจุสารละลาย 240 ml มีค่า Tolerance แสดงบนเครื่องแก้ว ±1.0 นั้น หมายความว่า มีค่าความคลาดเคลื่อนที่สามารถยอมรับได้อยู่ในช่วง 239-241 ml
แต่อย่างไรก็ตาม เครื่องแก้วแต่ละประเภทมีค่าของความคลาดเคลื่อนที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้เครื่องแก้วให้เหมาะสมกับงานหรือการทดลองของท่านเอง
ตัวอย่างเช่น หากเราต้องการตวงน้ำกลั่น 50 ml โดยเลือกใช้กระบอกตวง (Cylinder) 50 ml ที่มีค่า Tolerance ±1.0 กับปิเปตต์วัดปริมาตร (Volumetric pipette) ขนาด 50 ml ที่มีค่า Tolerance ±0.05 โดยในกรณีนี้ หากการทดสอบมีความจำเป็นต้องใช้ความแม่นยำสูง ก็ควรเลือกใช้เป็น Volumetric Pipette เพราะมีค่า Tolerance ที่ต่ำ จึงมีความแม่นยำสูงกว่า แต่หากเป็นการทดลองทั่วๆไป ที่ไม่ได้ต้องการความแม่นยำสูง ก็สามารถที่จะเลือกใช้เป็น กระบอกตวง แทนได้
สามารถแบ่งได้ 2 ชนิด ได้แก่
เครื่องแก้วบางประเภทมีทั้งชนิด To contain และ To deliver เช่น กระบอกตวง (Cylinder) ขวดวัดปริมาตร (Volumetric Flask) หรือเครื่องแก้วบางชิ้น ผู้ผลิตออกแบบให้ใช้งานได้ทั้งชนิด To contain และTo deliver ดังนั้นผู้ใช้งานต้องสังเกตดูให้แน่ใจก่อนนำไปใช้หากเราเลือกใช้เครื่องแก้วให้เหมาะสมกับหลักการใช้งาน ก็จะทำให้เราทำงานได้ง่ายและสะดวกมากขึ้น และในบทความหน้าเราจะมาพูดถึงมาตรฐานของเครื่องแก้วกันค่ะ เครื่องแก้วมีการกำหนดคุณภาพกันอย่างไร องค์การไหนรับรอง ติดตามชมได้ในบทความต่อไปนะคะ ^^ To be Cont.
ขอขอบคุณข้อมูลอ้างอิงจาก...
อาจารย์อุมาพร สุขม่วง สำนักพัฒนาศักยภาพนักวิทยาศาสตร์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ "เอกสารประกอบการอบรมหลักสูตรเทคนิคการใช้เครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ" . 11 พฤษภาคม 2558
ขอขอบคุณรูปหน้าปกจาก : http://government-2020.dupress.com/trend/virtual-laboratories/
____________________
< PREVIOUS ARTICLE
NEXT ARTICLE >
<=