Brand Profile



มาตรฐานรับรองการผลิตต่างๆของ Borosil
Calibration Process

กระบวนการสอบเทียบเครื่องแก้ววัดปริมาตรทุกชิ้นของ BOROSIL นั้นใช้ระบบคอมพิวเตอร์อัตโนมัติ ทำให้ผลิตภัณฑ์ทุกชิ้นมีความเที่ยงตรงและแม่นยำสูง ปราศจากความผิดพลาดในการสอบเทียบที่อาจเกิดขึ้น จากการใช้แรงงานคน

ขั้นตอนการสอบเทียบเครื่องแก้ววัดปริมาตร

1. ชั่งเครื่องแก้ววัดปริมาตรเปล่าบนเครื่องชั่ง เช่น Volumetric flask เพื่อเก็บค่าน้ำหนักภาชนะเปล่าก่อน
2. เครื่องจักรอัตโนมัติเติมน้ำกลั่นบริสุทธิ์ตามปริมาตรที่ต้องการเอาไว้ลงในเครื่องแก้วจากข้อ 1. โดยระบบได้มีการคิดคำนวณค่าพารามิเตอร์และสิ่งแวดล้อมในการทำงานในขณะนั้นที่อาจส่งผลต่อปริมาตรของน้ำกลั่นบริสุทธิ์ที่เติมลงไป เช่น ระดับอุณหภูมิและความชื้นในอากาศเอาไว้แล้ว
3. กล้องควบคุมเลเซอร์จะเล็งตรวจวัดจุดต่ำสุดของส่วนโค้งเว้า (Meniscus) และที่กงล้อหมุนจะมีหัวเจียระไนเนื้อแก้วซึ่งทำจากเพชรทำการหมุนควั่นเนื้อแก้วเพื่อสร้างขีดวัดปริมาตร (Scrolling mark) กระบวนการนี้จะทำให้ได้ขีดวัดปริมาตรที่มีความถูกต้องเที่ยงยำมากที่สุด และไม่มีโอกาสลบเลือน
4. สำหรับการสอบเทียบปริมาตร กระบอกตวง (cylinder), บิวเรตต์ (burette) และปิเปตต์ (pipet) จะต้องทำการสอบเทียบอย่างน้อย 2 จุดขึ้นไป
5. มีการคำนึงถึง Wet surface area factor ตลอดกระบวนการผลิต

เครื่องแก้ววัดปริมาตรทุกชิ้น ต้องมีการสอบเทียบ โดยสามารถแบ่งชนิดเครื่องแก้ว ตามวิธีการสอบเทียบได้ 2 ชนิด คือ
• To Contain : TC/ In

เครื่องแก้วสำหรับบรรจุของเหลวหรือสารละลาย โดยจะมีการระบุสัญลักษณ์ TC หรือ In ไว้ที่ตัวเครื่องแก้ว เครื่องแก้วประเภทนี้ได้แก่ Volumetric flask และ Cylinder

• To Deliver : TD/ Ex

เครื่องแก้วสำหรับการส่งผ่านสารหรือส่งถ่ายปริมตรสาร โดยจะมีการระบุสัญลักษณ์ TD หรือ Ex ไว้ที่ตัวเครื่องแก้ว เครื่องแก้วประเภทนี้ได้แก่ Burette และ Pipette

ลูกค้าชั้นนำระดับโลกที่ใช้เครื่องแก้ว BOROSIL
ลูกค้าชั้นนำระดับโลกที่ใช้เครื่องแก้ว BOROSIL

Technical Data

ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 จวบจนถึงปัจจุบัน นักเคมีนิยมเลือกใช้ภาชนะบรรจุ ที่ทำจากแก้วในการทำงานวิจัย เพราะคุณสมบัติหลักของแก้วที่มีลักษณะโปร่งใส สามารถเห็นสารที่บรรจุและปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นภายในได้อย่างชัดเจน แต่เนื่องจากการทดลองมักจะต้องมีการใช้อุณหภูมิที่หลากหลายและมีการผสมสารเคมีต่างๆ แก้วทั่วๆไปจึงไม่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพียงพอที่จะใช้กับงานวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการได้

การทดลองในห้องแล็บต้องการเครื่องแก้วที่สามารถขึ้นรูปทรงได้ตามต้องการ และสามารถที่จะทนต่ออุณหภูมิที่สูงมากๆ หรือการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิโดยเฉียบพลันได้โดยไม่เกิดการแตกร้าว หัก หรือเสียรูปทรง ทั้งยังสามารถรองรับกับการใช้งานในห้องแล็บได้หลากหลาย เช่น การล้างทำความสะอาดและการฆ่าเชื้อ

BOROSIL คือ แก้วที่ตอบโจทย์ข้างต้นได้
Certificate

กลุ่มเครื่องแก้ววัดปริมาตร แบรนด์ BOROSIL ที่ทางบริษัทฯ ทำสต็อคนั้นเป็นแบบ Batch Certificate ทั้งหมด แต่หากลูกค้าต้องการ Certificate ที่ออกรับรองเครื่องแก้วแบบรายชิ้น (Individual Certificate) ท่านสามารถแจ้งมาที่บริษัทฯ เพื่อทำการขอราคาและให้ทางบริษัทฯ สั่งนำเข้าพิเศษได้

NABL Individual Certificate

Individual Certificate ของ BOROSIL นั้นจะออกโดยห้องปฏิบัติการ ISO 17025 ของ BOROSIL ซึ่งได้รับการรับรองจากสถาบัน NABL (National Accredited Board for Testing and Calibration laboratory) ที่ได้รับการยอมรับร่วม (Mututal Recognition Agreements, MRAs) ทั้งในระดับภูมิภาคกับองค์กรภูมิภาคเอเชียแปซิฟิคว่าด้วยการรับรองระบบงานห้องปฏิบัติการ (the Asia Pacific Laboratory Accreditation Cooperation : APLAC) และในระดับสากลกับองค์กรระหว่างประเทศว่าด้วยการรับรองห้องปฏิบัติการ (International Laboratory Accreditation Cooperation : ILAC) จึงทำให้ Individual Certificate ที่ได้รับการรับรองจากแล็บ ISO17025 ของ BOROSIL นั้นได้รับการยอมรับจากแล็บ สอบเทียบมาตรฐาน ISO17025 ทั้งในประเทศที่อยู่ในทวีปเอเชีย อันรวมถึงประเทศไทยและทั้งในระดับสากล

Printing

เครื่องแก้ววัดปริมาตร ของแบรนด์ BOROSIL จะเป็นแบบสเกลสีชา ฝังลงไปในเนื้อแก้ว จึงทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องสเกลลอกเลือนหาย แต่หากลูกค้าต้องการเป็นสเกลเซรามิคสีขาวหรือสีฟ้า ทางบริษัทฯ สามารถสั่งทำพิเศษให้ได้เช่นกัน
สำหรับเครื่องแก้วทั่วไปที่ไม่ใช่กลุ่มเครื่องแก้ววัดปริมาตร สเกลและเครื่องหมายสัญลักษณ์จะเป็นแบบสีเซรามิคสีขาว

เครื่องแก้ววัดปริมาตร หมายถึง

เครื่องแก้วที่ใช้สำหรับวัดปริมาตรของของเหลวที่ต้องการความแม่นยำสูง ได้แก่ Cylinder, Volumetric Flask, Burette, Pipette โดยมีลักษณะ คือ

  • มีขีดกำหนดปริมาตร (Graduation marks) หรือ ข้อความกำหนดระบุปริมาตรที่วัดได้แน่นอน
  • มีการกำหนดค่าความคลาดเคลื่อนสูงสุดในการวัดที่ยอมรับได้ (Tolerance limit)
Cylinder
Volumetric Flask
Burette
Pipette
คุณสมบัติของแก้ว BOROSIL Borosilicate Type 3.3 glass

สินค้าเครื่องแก้ว BOROSIL ทุกรายการผลิตจากแก้ว Borosilicate Type 3.3 ซึ่งจะมีคุณสมบัติตามรายละเอียดที่จะกล่าวถึงด้านล่างนี้ ยกเว้น สินค้าที่ระบุว่าเป็น S-Line จะผลิตจากแก้วชนิด Soda Lime

Chemical composition

BOROSIL คือ แก้วบอโรซิลิเกตที่มีสภาพความเป็นด่างต่ำ ประเภท 3.3 (a low alkali borosilicate Type 3.3 glass) ซึ่งแทบจะไม่มีสารกลุ่มของแมกนีเซียม ปูนขาว และสังกะสีเจือปนอยู่เลย และปราศจากสารหนูและธาตุโลหะหนักอื่นๆ

ส่วนประกอบทางเคมี
SiO2 (Silica)
B2O3 (Boron trioxide)
Na2O (Sodium oxide) / K2O (Potassium oxide)
Al2O3 (Aluminium oxide)
Approx % by weight
81
13
4
2
Thermal Properties
SiO2 (Silica)
B2O3 (Boron trioxide)
Na2O (Sodium oxide) / K2O (Potassium oxide)
Al2O3 (Aluminium oxide)
81
13
4
2

เครื่องแก้ว BOROSIL มีสัมประสิทธิ์การขยายตัวเนื่องจากความร้อนอยู่ในระดับที่ต่ำ ดังนั้น โอกาสที่จะเกิดความเครียดขึ้นในเนื้อแก้วเมื่อนำไปใช้กับสภาวะแวดล้อมที่อุณหภูมิสูงจึงน้อยกว่าแก้วชนิดอื่น สามารถใช้กับอุณหภูมิได้สูงถึง 500°C และทนต่อการปรับเปลี่ยนอุณหภูมิอย่างเฉียบพลันได้กว้างถึง 160°C โดยที่แก้วไม่มีการแตกร้าวหรือได้รับผลกระทบใดต่อคุณสมบัติทั้งทางกายภาพและทางเคมีของตัวแก้วเลย เช่นคุณสามารถโยนแก้ว BOROSIL ที่อบออกจากตู้อบความร้อน 160°C ลงไปในน้ำที่อุณหภูมิ 0°C ได้โดยแก้วไม่เป็นอะไร

จุดความเครียด (Strain point) สำหรับแก้ว Borosilicate นั้นอยู่ที่ 515°C เป็นจุดอุณหภูมิสูงสุดที่ยังทำงานกับวัสดุนั้นได้โดยที่ไม่เกิดความเครียดขึ้นในเนื้อแก้ว เมื่อใดที่ได้รับความร้อนมากกว่า 500 องศาเซลเซียส ก็มีโอกาสที่จะเกิดความเครียดในวัสดุนั้นขณะที่ลดอุณหภูมิลงมาได้ ซึ่งจะทำให้แก้วเกิดความเสียสภาพไปได้

ผลิตภัณฑ์ของ BOROSIL ทุกตัวจะผ่านกระบวนการอบอ่อน (Annealed) ในอุโมงค์เตาอบ (Lehr oven) ภายใต้การควบคุมอุณหภูมิที่เคร่งครัด ทำให้มั่นใจได้ว่าไม่มีความเค้นและความเครียดตกค้างอยู่ในผลิตภัณฑ์ เพราะจะถูกขจัดออกไปจนหมดสิ้น จึงทำให้แก้วไม่แตกง่ายและมีความคงทนสูงมาก

Chemical Durability

ผลิตภัณฑ์ BOROSIL จะมีความทนทานต่อการกัดกร่อนของน้ำ, สารที่เป็นกลาง, สารละลายกรด, กรดเข้มข้นและสารผสม, Chlorine, Bromine, Iodine และสารอินทรีย์ ได้เป็นอย่างดี แม้ต้องทนต่อระยะการเกิดปฏิกิริยาที่ยาวนาน หรือที่อุณหภูมิ การทำงานมากกว่า 100°C ซึ่งถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติที่เหนือกว่าโลหะหรือวัสดุชนิดอื่นๆ

ข้อยกเว้น สารที่พึงระวัง ห้ามนำมาใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ทำจากแก้วโบโรซิลิเกต เพราะจะทำปฏิกิริยาทางเคมีกับแก้ว แล้วจะทำให้แก้วเสื่อมสภาพได้ก็คือ Hydrofluoric acid, Phosphoric acid และ สารละลายด่างที่มีความเข้มข้นสูงมากที่อุณหภูมิร้อนจัด

ตารางแสดงความคงทนของแก้วโบโรซิลิเกตต่อการกัดกร่อนของสารเคมี
รายชื่อสารเคมี
น้ำกลั่นที่ 100°C
ไอน้ำร้อนที่ 121°C
Hydrochloric acid
Sulfuric acid 80% ที่ 130°C
1N Sodium Carbonate Solution ที่เดือด Infusion Fluids Isotonic
Sodium Chloride (0.85%) ที่ 121°C
Glucose (5%) ที่ 121°C
ระยะเวลา (ชั่วโมง)
6
1
6
12
6
2.5
2.5
น้ำหนักที่หายไป (mg/m3)
10
75
100
140
4000
70
50
Autoclaving
การนึ่งฆ่าเชื้อเครื่องแก้ว Borosil
Application Note

การนึ่งฆ่าเชื้อ (Autoclave) มีใช้กันอย่างแพร่หลาย สำหรับการใช้ฆ่าเชื้อเครื่องมือ เครื่องแก้ว อุปกรณ์พลาสติก สารละลายและอาหารเลี้ยงเชื้อและลดความปนเปื้อนของมูลฝอยทางชีวภาพ การนึ่งฆ่าเชื้ออาจก่อให้เกินอันตรายต่อผู้ใช้งาน เนื่องจากความร้อน (heat) ไอน้ำ (steam) และความดัน (pressure) ผู้ใช้งานจึงต้องใช้ความระมัดระวังอย่างมาก

หม้อนึ่งฆ่าเชื้อ ควรได้รับการดูแลรักษาเป็นอย่างดี เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างปลอดภัย เพราะหม้อนึ่งฆ่าเชื้อแต่ละเครื่องจะมีลักษณะและการใช้งานเฉพาะตัว ดังนั้นจึงควรตรวจสอบและทำความเข้าใจคู่มือการใช้งานหม้อนึ่งฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อนใช้งานครั้งแรกให้ดีเสียก่อน นอกจากนี้ควรปฏิบัติตามข้อปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในการใช้งานที่หน่วยงานของท่านให้ละเอียด

ข้อควรปฏิบัติในการนึ่งฆ่าเชื้อเครื่องแก้ว Borosil
Borosil แนะนำวิธีการใช้หม้อนึ่งฆ่าเชื้ออย่างปลอดภัย ดังนี้
  • ห้าม นึ่งฆ่าเชื้ออุปกรณ์ที่มีการบรรจุสารกัดกร่อน (กรด,เบส,ฟีนอล) ตัวทำละลายหรือสารระเหย (เช่น เอทานอล, เมทานอล, คลอโรฟอร์ม) หรือ สารก่อกัมมันตรังสี
  • วางเครื่องแก้วที่ต้องการนึ่งฆ่าเชื้อไว้บนวัสดุทนความร้อน เช่น ถาดพลาสติก หรือ ถาดโลหะ บน shelf หรือ rack ห้ามวางเครื่องแก้วไว้ที่พื้นของเครื่อง Autoclave โดยตรง และควรวางเครื่องแก้วให้ห่างกัน > 5 ซม. เพื่อที่จะให้เครื่องแก้วมีพื้นที่สำหรับการขยายตัวขณะให้ความร้อน และป้องกันการกระทบกันของเครื่องแก้วด้วย
  • เติมน้ำในปริมาณ ½ หรือ ¼ ของถาด เพื่อให้เครื่องแก้วได้รับความร้อนอย่างสม่ำเสมอและทั่วถึง
  • ตรวจสอบ วัสดุที่ทำจากพลาสติก เช่น ฝาปิด หรือ ท่อหรือวัสดุอื่นให้มั่นใจว่าสามารถนำไปนึ่งฆ่าเชื้อพร้อมกับเครื่องแก้วได้อย่างปลอดภัย
  • เติมของเหลวลงในเครื่องแก้วครึ่งหนึ่งของปริมาตร โดยให้คำนึงถึงปริมาณของของเหลวที่จะใช้ในการนึ่งฆ่าเชื้อ เช่น ขวดทดลองขนาด 2 ลิตรใช้ปริมาณของเหลวจำนวน 1 L จะใช้เวลาการฆ่าเชื้อนานกว่าขวดทดลอง ขนาด 500 ml จำนวน 4 ชิ้น ซึ่งใช้ปริมาณของเหลว 250 ml
  • ทดสอบการใช้งาน เมื่อมีการนึ่งฆ่าเชื้อของเหลวในปริมาณมาก เพื่อให้แน่ใจว่าของเหลวนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นไปถึงที่ 121 องศาเซลเซียส
  • เครื่องแก้วที่มีขนาดใหญ่ตั้งแต่ขนาด 3L หรือขนาด 5L ขึ้นไป หรือขนาดใหญ่กว่านี้ ควรใส่น้ำกลั่นปริมาณเล็กน้อยไว้ในเครื่องแก้วด้วย เพื่อที่จะช่วยให้เครื่องแก้วได้รับความร้อนอย่างทั่วถึง ในขณะที่นึ่งฆ่าเชื้อ
  • แขวนเทอร์โมมิเตอร์ไว้ตรงกลางของภาชนะที่เติมของเหลวไว้ เพื่อทำการบันทึกอุณหภูมิสูงสุดที่วัดได้ จากนั้นตรวจสอบการทำงาน ถ้าค่าที่ได้ต่ำกว่าที่ได้ทำการทดสอบไว้ ต้องเพิ่มเวลาในการทำงาน หรือลดจำนวนปริมาตรของเหลวในการนึ่งฆ่าเชื้อ
  • เพื่อป้องกันไม่ให้ขวดเกิดความเสียหายในระหว่างกระบวนการให้ความดัน ควรคลายฝาของภาชนะออกก่อนการนึ่งฆ่าเชื้อ ควรใช้ฟังค์ชั่น Slow Exhaust หรือ Liquid cool cycle เมื่อทำการนึ่งฆ่าเชื้อของเหลว เพื่อป้องกันการเดือดอย่างรุนแรง
  • อย่าปิดฝาภาชนะที่นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่มีการบรรจุของเหลวภายในจนสนิท เพราะอาจจะส่งผลให้เกิดการระเบิดเนื่องจากความร้อนจัด และแรงดันไอน้ำ ในระหว่างการนึ่ง หรือเมื่อเปิดภาชนะ
  • ควรสวมถุงมือที่ทนความร้อนและผ้ากันเปื้อนยาง ทุกครั้งก่อนเปิดหม้อนึ่งฆ่าเชื้อ
  • เมื่อเสร็จสิ้นการนึ่ง ให้รอ 5 นาที ก่อนการนำเครื่องแก้วออกจากหม้อนึ่งฆ่าเชื้อ และรอ 10-20 นาทีก่อนจะย้ายเครื่องแก้วที่บรรจุของเหลวออกมา เนื่องจากของเหลวได้รับความร้อนเป็นเวลานานจนเดือดและอาจจะล้นออกมาจากถาด และลวกมือผู้ใช้งานได้
  • อย่าปิดฝาทันทีที่นึ่งฆ่าเชื้อเสร็จ เนื่องจากฝาหรือภาชนะอาจได้รับความเสียหายได้ เพราะว่าจะทำให้เกิดแรงดันจากการเย็นตัวลงได้ โดยเฉพาะภาชนะที่มีขนาดใหญ่ ฝากับปากขวดอาจะซ้อนทับดูดมาติดกันได้
  • อย่าวางเครื่องแก้วขณะที่ยังร้อนบนโต๊ะที่เย็น โดยเฉพาะเครื่องแก้วที่มีขนาดใหญ่ เพราะความเครียดจากเครื่องแก้วอาจทำให้พื้นของภาชนะร้าวหรือแตกได้
  • สำหรับการนึ่งฆ่าเชื้อเครื่องแก้วที่ไม่ได้มีการบรรจุของเหลวที่นำไปนึ่งฆ่าเชื้อ ควรรอให้เครื่องแก้วเย็นลงประมาณ 15 นาที ก่อนที่จะสัมผัสโดยไม่ได้ใช้สวมมือป้องกัน
  • สำหรับการนึ่งฆ่าเชื้อเครื่องแก้วที่มีการบรรจุของเหลว ควรตั้งของเหลวที่ไว้ประมาณ 1 ชั่วโมงก่อนการสัมผัสเครื่องแก้วโดยไม่ใช้ถุงมือ ตรวจสอบให้มั่นใจว่าผู้อื่นที่อยู่บริเวณโดยรอบทราบว่ามีวัตถุร้อนจัดตั้งอยู่
Care and Maintenance
เครื่องมือสำหรับห้องปฏิบัติการของแบรนด์ Borosil ได้รับการออกแบบมาเพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อเป็นการยึดอายุการใช้งานของเครื่องมือให้ยาวนานขึ้น เราจึงมีวิธีการดูแลรักษา เครื่องแก้วที่เหมาะสม มาเป็นความรู้ให้ท่าน ดังต่อไปนี้
Heating and Cooling
การให้ความร้อนและความเย็น
แก้วอาจเกิดความเสียหายได้จาก 3 สาเหตุ ดังต่อไปนี้
  • แก้วอาจแตกได้ หากอยู่ภายใต้ความเครียดจากอุณหภูมิในขั้น “Steady State” นั่นคือ เมื่อมีการส่งผ่านความร้อนระดับต่างๆผ่านตัวแก้ว
  • แก้วอาจแตกได้ ภายใต้ความเครียดจากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยฉับพลัน ซึ่งอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงจากการให้ความร้อน (heating) หรือความเย็น (cooling)
  • แก้วอาจแตกได้ หากแก้วได้รับความร้อนสูงกว่าอุณหภูมิที่กำหนด เพราะมันอาจเกิดเป็นความเครียดถาวร และเมื่อแก้วเย็นลงก็ทำให้เกิดความเสียหายได้
  • กรณีที่ต้องมีการระเหยสาร ห้ามทิ้งภาชนะ ที่ทำการระเหยสารไว้โดยปราศจากคนคอยเฝ้าระวัง เพราะภาชนะอาจแตกร้าวหรือระเบิดได้ หากสารที่บรรจุไว้ระเหยไปหมดจนแห้งขอด หรือหากมีการปรับตั้งอุณหภูมิจากแหล่งที่ให้ความร้อนเอาไว้ไม่เหมาะสม เมื่อปริมาณของเหลวในภาชนะบรรจุเริ่มมีปริมาณลดลง ให้ค่อยๆ ปรับลดอุณหภูมิลง อย่าปรับลดอุณหภูมิลงทันทีโดยเด็ดขาด
  • ควรใช้ความระมัดระวังในการคีบเครื่องแก้วออกจากแหล่งความร้อน และหลีกเลี่ยงการวางลงในที่เย็นหรือชื้นทันทีหลังคีบออกมา เพราะแก้วอาจแตกได้
  • ค่อยๆระบายความร้อน ทำให้แก้วค่อยๆเย็นลงอย่างช้าๆ เพื่อจะลดความเสี่ยงที่จะเกิดการแตกร้าว
  • ห้ามนำแก้วที่มีรอยร้าวหรือบิ่นไปให้ความร้อนโดยตรง เพราะแก้วที่มีรอยร้าวหรือชำรุดแล้วนั้น ความแข็งแรงของแก้วจะลดลงไปเป็นอย่างมาก
  • ควรใช้แผ่นตะแกรงโลหะหรือ Air/ Water Bath เพื่อกระจายความร้อนไม่ให้กระจุกตัว ณ บริเวณใดบริเวณหนึ่งของแก้ว หรืออาจใช้วิธีคอยหมุนขยับแก้วอย่างช้าๆ ไปเรื่อยๆ ให้ความร้อนกระจายตัวอย่างทั่วถึง
  • ปรับการใช้ไฟให้เป็นแบบวงเปลวไฟใหญ่แต่อ่อน มันอาจจะร้อนช้าหน่อยแต่จะให้ความร้อนที่สม่ำเสมอแก่ปฏิกิริยาเคมี
  • แน่ใจว่าเปลวไฟนั้นให้ความร้อนกับภาชนะแก้วที่ระดับต่ำกว่าผิวน้ำหรือของเหลวที่ถูกบรรจุไว้อยู่ การให้ความร้อนบริเวณแก้วที่เหนือระดับผิวของเหลวขึ้นไปนั้นจะทำให้ภาชนะแตกได
  • หากกรณีต้องการให้ของเหลวเดือดอย่างรวดเร็ว ควรใส่วัสดุที่ช่วยให้การเดือดเป็นไปอย่างทั่วถึง และลดการประทุของสาร (anti-bumping devices) ลงไปด้วย เช่น ผงหินภูเขาไฟ (pumice powder) หรือ glass wool
  • ห้ามนำวัสดุที่มีขอบแหลมคม เช่น กระเบื้องที่แตกหัก มาใช้แทนเป็นตัว Anti-bumping เนื่องจากขอบแหลมคมจะก่อให้เกิดการขีดข่วน รอยชำรุดต่อเนื้อแก้ว และทำให้ความแข็งแรงทนทานเชิงกลและเชิงอุณหภูมิเสียไป
  • เครื่องแก้วที่มีความหนาไม่ควรนำไปสัมผัสกับเปลวไฟ หรือแหล่งความร้อนโดยตรง เพราะอาจทำให้แตกได้
  • เครื่อง hot plate จะรักษาความร้อนได้ค่อนข้างนานแม้จะปิดเครื่องแล้ว
Mixing and Stirring
การผสมและการกวนสาร
  • ไม่ควรใช้เครื่องแก้วเกินขีดจำกัดที่จะรับความดันได้
  • ควรคำนวณระยะความยาวของแท่งกวนแม่เหล็กกับอุปกรณ์เครื่องแก้วที่จะใช้ล่วงหน้าก่อนใช้งานทุกครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าแท่งกวนจะไม่สัมผัสกับผิวหรือก้นภาชนะแก้วนั้น
  • ห้าม ทำการผสมกรดซัลฟูริก (Sulfuric acid) และน้ำภายในภาชนะที่ทำจากแก้ว เนื่องจากความร้อนที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างสาร 2 ตัวดังกล่าวจะทำให้ภาชนะแตกได้
Vacuum and Pressure
สภาวะสุญญากาศและความดัน
  • ควรใช้แท่งกวนที่มีปลายหุ้มด้วย Teflon หรือวัสดุที่คล้ายคลึงกันเพื่อป้องกันการขีดข่วนภายในของอุปกรณ์
  • ควรมีแผ่นกำบัง Safety screen กั้นเมื่อใช้เครื่องแก้วร่วมกับแรงกดดัน หรือสภาวะสุญญากาศ
  • ไม่ควรให้เครื่องแก้วมีการเปลี่ยนแปลงความดันอย่างฉับพลัน เพราะเครื่องแก้วอาจแตกได้
Joining and Separating Glass Apparatus
การใช้ร่วมกันและการแยกอุปกรณ์เครื่องแก้ว
  • เมื่อจะทำการจัดเก็บก๊อกแก้ว (glass stopcock) และข้อต่อ (joints) ให้ใส่กระดาษบางคั่นระหว่างกลางเพื่อป้องไม่ให้แก้วติดกัน
  • ไม่จัดเก็บก๊อกแก้วทิ้งไว้เป็นเวลานานทั้งๆที่ยังมีผลิตภัณฑ์หล่อลื่น (lubricants) ทาทิ้งไว้อยู่ ควรเช็ดทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนเก็บ
  • ควรหมั่นทาสารหล่อลื่นลงบนก๊อกแก้วของบิวเรตต์ (Burette) และกรวยแยกสาร (Separating Funnel) เพื่อป้องกันไม่ให้ก๊อกฝืดเหนียว
  • ควรทาสารหล่อลื่นเฉพาะผิวรอบนอกของข้อต่อและควรใช้ปริมาณน้อย ระวังอย่าทาสารหล่อลื่นเข้ามาที่ผิวด้านในข้อต่อซึ่งเป็นส่วนที่สัมผัสกับสารเคมี
  • ผลิตภัณฑ์สารหล่อลื่น 3 ประเภทที่นิยมใช้กับเครื่องแก้ว

    a. Hydrocarbon grease : นิยมใช้กันมากที่สุด สามารถล้างออกได้ง่ายโดยตัวทำละลายที่ใช้ส่วนใหญ่ในห้องแล็บ เช่น Acetone
    b. Silicon grease : นิยมใช้กับอุปกรณ์ที่ต้องใช้กับงานวิเคราะห์ที่ใช้อุณหภูมิสูงหรือความดันสูง สามารถล้างออกได้ด้วย Chloroform
    c. Glycerin : นิยมที่ใช้กับงานที่มีปฏิกิริยาท่อที่มีการไหลในระยะยาว แล้วมีสารอินทรีย์และไขมันที่ไม่ละลายน้ำอยู่ด้วย สามารถล้างออกได้ด้วยน้ำ

Personal Safety
ความปลอดภัยส่วนบุคคล
  • เมื่อต้องการเอาเครื่องแก้วที่ร้อนออกจากตู้อบ หรือแหล่งที่ให้ความร้อนอื่นๆควรใช้ tongs หรือถุงมือกันความร้อนในการย้ายเครื่องแก้วออกมา เพราะแก้วที่ร้อนอาจเป็นสาเหตุทำให้ผิวหนังพุพองได้
  • ควรสวมถุงมือ, รองเท้าป้องกัน, เสื้อคลุม และแว่นตาจะช่วยให้ปลอดภัยจากการอุบัติเหตุที่จะเกิด เช่น การหก หรือการกระเด็นของสารเคมี
  • ขวดที่มีการถ่ายกรดลงไป เมื่อทำการถ่ายเสร็จแล้ว ควรล้างภายนอกขวดด้วยน้ำ และอย่าเปิดขวดทิ้งไว้เพราะอาจเกิดการปนเปื้อนแล้วจะทำให้เสื่อมคุณภาพลงเมื่อนำไปใช้ต่อ
  • สารปรอท เป็นพิษต่ออากาศ แม้จะหยดลงเพียงเล็กน้อยก็ตาม สารปรอทเมื่อได้รับสะสมมากๆ จะเป็นพิษต่อร่างกาย และเมื่อหยดลงพื้นควรทำความสะอาดอย่าให้เหลือคราบ และควรเก็บไว้ในภาชนะที่บรรจุอย่างดี
  • กลิ่นของสารเคมีอาจทำให้โพรงจมูกเกิดการอักเสบได้ ควรใช้ผ้าปิดจมูกปิดไว้เวลามีการใช้งานสารเคมี
  • ควรหลีกเลี่ยงการดูดปิเปตด้วยปาก โดยเฉพาะเมื่อใช้ความเข้มข้นของสารที่เป็นกรด, ด่าง ควรใช้จุกยางในการดูด
  • ควรปิดฉลากสารเคมีให้ชัดเจน แล้วเมื่อทิ้งขวดสารเคมีก็ไม่ควรเอาฉลากออกเพื่อความปลอดภัยต่อคนอื่นๆ
  • อย่ามองลงในหลอดทดลองที่กำลังให้ความร้อน หรือที่มีส่วนผสมของสารเคมีและไม่ควรหันปากหลอดไปทางผู้อื่น เพราะผู้อื่นอาจได้รับอันตรายได้โดยไม่รู้ตัว
  • เมื่อกรดกระเด็นโดนเสื้อผ้า หรือผิวหนังต้องทำการล้างออกด้วยน้ำทันทีและล้างน้ำในปริมาณมากๆ
  • เมื่อไรที่ทำงานกับสาร chlorine, hydrogen sulphide, carbon monoxide, hydrogen cyanide และสารอื่นๆที่เป็นพิษ จะต้องใส่หน้ากากป้องกันตลอดเวลา หรือทำการทดลองกับสารเคมีพวกนี้ภายใต้ตู้ดูดควันที่มีช่องระบายที่ดี
  • ในการทำงานกับวัตถุระเหยอันตราย, จำไว้เลยว่าความร้อนเป็นสาเหตุให้เกิดการขยายตัว และระเบิดได้ในที่สุด
  • กรด Perchloric จะเกิดอันตรายได้ง่าย เพราะมันจะระเบิดเมื่อสัมผัสกับวัตถุอินทรีย์ ห้ามใช้กรดชนิดนี้บริเวณ โต๊ะที่ทำการทดลอง ควรใช้ในตู้ดูดควัน
  • เมื่อใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า ต้องมั่นใจว่าสายไฟ และปลั๊กนั้นอยู่ในสภาพพร้อมใช้ และไม่ควรเสียบปลั๊กเมื่อมือเปียก
Cleaning
การทำความสะอาด

เครื่องแก้วที่สะอาดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับห้องปฏิบัติการที่ดี เพราะถึงแม้ห้องปฏิบัติการจะมีกระบวนการหรือขั้นตอนต่างๆที่กระทำอย่างเข้มงวด รัดกุมแล้วก็ยังสามารถทำให้เกิดข้อผิดพลาดของ ผลลัพธ์ของการทดลองได้ หากเครื่องแก้วที่ใช้งานนั้นสกปรก เครื่องแก้วต้องมีความสะอาดทั้งทางกายภาพและทางเคมี และในหลายๆกรณีก็ต้องปลอดเชื้อด้วย ตัวบ่งชี้ที่ปลอดภัยที่สุดเพื่อดูความสะอาดของเครื่องแก้วก็คือรูปแบบการเปียกน้ำกลั่นบริเวณพื้นผิวเครื่องแก้ว นี่เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งสำหรับเครื่องแก้วที่ใช้สำหรับวัดปริมาณของเหลว Grease และสารสกปรกต่างๆจะกันแก้วไม่ให้เปียกน้ำ ในทางกลับกัน ปริมาณตะกอนที่เกาะอยู่กับผนังเครื่องแก้วก็มีผลต่อการวัดปริมาณของเหลวหรือการส่งถ่ายของเหลว น้ำยาขัดทำความสะอาดและฟองน้ำแบบขัด ไม่ควรนำมาใช้ในการล้างเครื่องแก้วในห้องปฏิบัติการ เนื่องจากอาจทำให้ผิวเครื่องแก้วเสียหายได้ และความเสียหายของพื้นผิวดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่อคุณสมบัติของเครื่องแก้วด้วย

  • การทำความสะอาดเครื่องแก้วที่มีการบรรจุสารอันตรายไว้ ต้องอยู่ภายใต้การดูแล การดำเนินการโดยผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น
  • เครื่องแก้วใหม่ ส่วนใหญ่จะมีปฏิกิริยาต่อสาร alkaline เล็กน้อย สำหรับการทดสอบทางเคมีที่ถูกต้องนั้น เครื่องแก้วใหม่เหล่านี้ต้องนำไปแช่ไว้ในน้ำกรด (1% solution hydrochloric acid หรือ nitric acid) ก่อนทำการล้าง
  • เครื่องแก้วที่เปื้อนตัวอย่างก้อนเลือด อาหารเลี้ยงเชื้อหรืออื่นๆ ต้องผ่านการฆ่าเชื้อก่อนทำความสะอาด
  • ถ้าเครื่องแก้วกลายเป็นสีมัวๆหรือสกปรก หรือมีพวกสารอินทรีย์จับตัวกันเป็นก้อน ต้องทำความสะอาดด้วยน้ำยาทำความสะอาดที่มีกรดโครมิกเป็นส่วนประกอบ และควรใช้ด้วยความระมัดระวังเพราะกรดชนิดนี้มีฤทธิ์กัดกร่อน
  • ล้างเครื่องแก้วให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้หลังจากใช้งานเสร็จแล้ว แต่ถ้าไม่สามารถทำได้ในทันที ก็นำไปแช่ไว้ในน้ำก่อน
  • Grease หรือจาระบี สามารถล้างออกด้วยการใช้สารละลายเจือจาง Sodium carbonate, Acetone หรือตัวทำละลายไขมัน ไม่ควรใช้ Strong alkalis
  • ควรใช้น้ำร้อน หรือพวกสารซักฟอกในกรณีที่เครื่องแก้วมีความสกปรกอย่างมาก อาจต้องใช้ผงซักฟอกและทำการขัดโดยพยายามอย่าให้ผิวเครื่องแก้วเป็นรอย
  • ระหว่างการล้างทำความสะอาด ทุกส่วนของเครื่องแก้วควรได้รับการขัดล้างอย่างทั่วถึงด้วยแปรงขัดที่มีเหมาะสมกับรูปร่างและขนาดของเครื่องแก้วนั้นๆ แปรงล้างควรอยู่ในสภาพที่ดี เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียดสีกับผิวเครื่องแก้ว
  • เมื่อใช้สารละลายกรดโครมิกในการล้างทำความสะอาดเครื่องแก้วแล้ว ก็อาจจะทำการล้างด้วยน้ำยาล้างความสะอาดอีกครั้งหรือเติมแล้วทิ้งไว้ซักระยะเวลาหนึ่ง ขึ้นอยู่กับปริมาณความสกปรกของเครื่องแก้ว
  • พวกวัสดุตกตะกอนพิเศษ อาจต้องได้รับการกำจัดด้วยกรดไนตริกหรือกรดซัลฟิวริก ซึ่งกรดเหล่านี้มีฤทธิ์กัดกร่อนมากและควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
  • เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องทำการล้างสารซักฟอกหรือสารล้างทำความสะอาดออกจากเครื่องแก้วก่อนใช้งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสารซักฟอกซึ่งมันจะไปมีผลต่อปฏิกิริยาอื่นๆ หลังจากทำความสะอาดแล้วก็ล้างออกด้วยน้ำเปล่าอีกครั้ง เขย่าเพื่อสลัดน้ำออกจากเครื่องแก้วหลายๆครั้งและสุดท้ายทำการล้างด้วยน้ำกลั่น
  • การทำให้เครื่องแก้วแห้ง (Drying) สามารถทำได้โดยการตั้งทิ้งไว้ในตะกร้าหรือห้อย ผึ่งไว้ในอากาศหรือที่อุณหภูมิไม่เกิน 120 0C
  • ปกป้องเครื่องแก้วจากฝุ่นโดยใช้การปิดคลุมไว้หรือจัดเก็บวางไว้ในตู้ปลอดฝุ่น
Glassware
Cleaning Tips
การทำความสะอาดปิเปตต์ (Pipette Cleaning)
  • วางปิเปตต์ลงใน Cylinder หรือโถทรงสูงที่มีน้ำบรรจุอยู่ทันทีหลังจากการใช้งาน ใช้แผ่นคอตตอนหรือแผ่นใยแก้ววางที่ฐานของภาชนะบรรจุปิเปตต์ ซึ่งจะช่วยป้องกันการแตกหักของปลายปิเปตต์ได้ โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าระดับน้ำสูงพอท่วมหรือสามารถแช่ส่วนของปิเปตต์ได้ หรือสามารถแบ่งปิเปตต์ออกมาแช่ในภาชนะที่สารซักฟอกผสมอยู่ แต่ถ้าหากเครื่องแก้วมีคราบสกปรกมากๆ ก็นำไปแช่ในภาชนะที่มีสารทำความสะอาดที่มีกรดโครมิกผสมอยู่ และหลังจากแช่ปิเปตต์ไว้เป็นเวลาหลายชั่วโมงหรือแช่ไว้ค้างคืนแล้ว ก็ทำการระบายน้ำออกจากปิเปตต์ และล้างปิเปตต์ด้วยน้ำสะอาดจนกระทั่งสิ่งสกปรกถูกกำจัดไปจนหมดแล้วนำไปแช่ในน้ำกลั่นเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ชม. จากนั้นก็นำปิเปตต์ออกจากน้ำกลั่น เช็ดผิวภายนอกเครื่องแก้วให้แห้ง หรือเขย่าให้น้ำออกจนหมด
  • ในห้องปฏิบัติการที่มีการใช้ปิเปตต์ทุกวันและใช้ในปริมาณมาก เหมาะที่จะใช้เครื่องล้างปิเปตต์แบบอัตโนมัติ ตะกร้าที่ทำจากพลาสติกชนิด Polyethylene และอาจจะมีการใช้โถแช่ที่มีน้ำยาล้างทำความสะอาดที่มีกรดโครมิกเป็นส่วนผสม นอกจากนี้ก็ควรมีเครื่องอบแห้งปิเปตต์ที่ทำด้วยโลหะ ที่เป็นการให้ความร้อนด้วยระบบไฟฟ้า
  • หลังจากทำการอบแห้งปิเปตต์แล้ว ควรวางปิเปตต์ไว้ที่ที่ปราศจากฝุ่น ห่อ Serological และ Bacteriological pipette ด้วยกระดาษหรือเก็บไว้ในขวดเก็บปิเปตต์แล้วนำไปฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 160 oC เป็นเวลา 2 ชม. ส่วนปิเปตต์ที่ใช้สำหรับถ่ายโอนสารที่ติดเชื้อได้ ควรมีจุกคอตตอนใส่ไว้ที่ปลายปิเปตต์ก่อนฆ่าเชื้อ
การทำความสะอาดบิวเรตต์ (Burette Cleaning with glass stopcock)
  • นำจุก stopcock ออกจากบิวเรตต์และล้างบิวเรตต์ด้วยสารซักฟอกและน้ำสะอาด
  • จากนั้นล้างด้วยน้ำประปาจนสิ่งสกปรกถูกล้างออกจนหมด และล้างด้วยน้ำกลั่นอีกครั้ง ทิ้งไว้ให้แห้ง
  • แยกล้างจุก stopcock ก่อนที่จะนำจุกไปปิดบิวเรตต์ ควรทำการทาสารหล่อลื่นที่ข้อต่อ โปรดจำไว้ว่า จุกปิดบิวเรตต์ไม่สามารถเปลี่ยนได้
  • คลุมปิดบิวเรตต์ทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งาน
  • จุกแก้วปิด (Glass stopcocks) ไม่สามารถเปลี่ยนได้
  • ควรทำเครื่องหมายระหว่าง glass key และ burette bore เพื่อหลีกเลี่ยงการปนกัน
การทำความสะอาดหลอดทดลอง (Culture Tubes)
  • หลอดทดลองที่มีการใช้งานแล้วต้องผ่านการฆ่าเชื้อก่อนนำไปทำความสะอาด วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการฆ่าเชื้อหลอดทดลองคือนำไปนึ่งฆ่าเชื้อเป็นเวลา 30 นาที ที่อุณหภูมิ 121oC (15 lb pressure) อาหารเลี้ยงเชื้อ (Media) ที่จับตัวกันเป็นก้อนควรนำไปเทออกในขณะที่หลอดยังร้อน หลังจากนั้นใช้แปรงขจัดคราบด้วยสารซักฟอกและน้ำ ตามด้วยน้ำประปาและน้ำกลั่นตามลำดับ และนำไปวางไว้บนตะกร้า ผึ่งให้แห้ง
  • ถ้าหลอดทดลองเต็มไปด้วย medium ที่ผ่านการนึ่งฆ่าเชื้อแล้ว do not plug until the medium is added ทั้ง medium และหลอดทดลองต้องผ่านการฆ่าเชื้อในครั้งเดียว
  • ถ้าหลอดทดลองจะต้องถูกเติมด้วย medium ที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว ต้องนำหลอดทดลองไปนึ่งฆ่าเชื้อก่อนทำการเติม medium ลงไป
การทำความสะอาด Serological Tubes
  • Serologocal Tubes ควรมีความสะอาดทางเคมีแต่ไม่จำเป็นต้องปลอดเชื้อก็ได้ แต่อย่างไรก็ตาม ตัวอย่างเลือด (specimens of blood) ที่จะต้องเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องบ้างบางเวลา ควรเลือกเก็บไว้ในตู้ปลอดเชื้อ
  • การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อหลอดทดลองที่บรรจุตัวอย่างเลือดไว้ ให้ทำการเทก้อนเลือดนั้นทิ้งลงถังขยะ แล้วนำหลอดทดลองไปไว้ในตะกร้า จากนั้นนำตะกร้าไปวางในหม้อน้ำ ใส่น้ำให้ท่วม เติมสบู่หรือสารซักฟอกลงไปในปริมาณที่เหมาะสมและต้มเป็นเวลา 30 นาที จากนั้นล้างหลอดและทำความสะอาดด้วยแปรงล้างเครื่องแก้ว จากนั้นล้างหลอดทดลองด้วยน้ำ ผึ่งและเช็ดให้แห้งด้วยความระมัดระวัง
  • มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำการล้าง serological glassware เพื่อขจัดสารประเภทกรด ด่าง อัลคาไลและสารซักฟอกออกให้หมด เพราะทั้งกรดและอัลคาไลในปริมาณน้อยๆก็สามารถทำลายส่วนประกอบได้ และถ้าในปริมาณมากก็จะทำให้เกิด hemolysis ขึ้นได้ สารซักฟอกจะไปแทรกแซงด้วยปฏิกิริยา serological reactions
  • หลอด serological และเครื่องแก้วควรเก็บแยกกันกับเคครื่องแก้วประเภทอื่นๆทั้งหมด และอย่านำไปใช้กับงานใดๆนอกจากขั้นตอนสำหรับ serologic เท่านั้น
การทำความสะอาดจานเพาะเชื้อและขวดเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ (Dish and Culture Bottles)
  • ทำการฆ่าเชื้อและทำความสะอาดเหมือนรายละเอียดในหัวข้อ Culture Tubes
  • จากนั้นห่อเครื่องแก้วด้วยกระดาษที่หนาหรือวางเก็บไว้ขวดเก็บจานเพาะเชื้อ
  • ฆ่าเชื้อด้วยหม้อนึ่งฆ่าเชื้อหรือ dry air sterilizer